วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

การทำ amazon ในฐานะผู้ขาย(Amazon Seller Professional) ตอนที่2

add bank account

ช่องที่ 22 ถ้าเป็นบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ค ก็เลือกเป็นสหรัฐได้เลยครับ
ช่องที่ 23 ถ้าเป็นบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ค ใส่ตัวเลข 026008691 เท่านั้นนะครับ
ช่องที่ 24 กับ 25 ก็ใส่เลขบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาในไทย ที่เราจะใช้รับเงิน  ใส่หมายเลขบัญชีลงไปเขียนติดกันไม่ต้องเว้นไม่ต้องขีดนะครับ
ช่องที่ 26 ก็ชื่อ นามสกุล เจ้าของบัญชี เอาให้ตรงกับชื่อทั้งหมดนี่จะดีกว่า เพราะถ้าไม่ตรงนี่ ก็ไม่แน่ใจ    เหมือนกัน



การคิดค่าธรรมเนียม การรับเงินแบบ Direct Deposit ธนาคารกรุงเทพคิดค่าธรรมเนียม 2 รายการ ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมโอนเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ก มาไทย
- ยอดเงินโอน น้อยกว่า $50 ไม่คิดค่าธรรมเนียม
- ยอดเงินโอน $51-$100 คิดค่าธรรมเนียม $3
- ยอดเงินโอน $100.01-$2,000 คิดค่าธรรมเนียม $5
- ยอดเงินโอน $2,000.01-$50,000 คิดค่าธรรมเนียม $10
- ยอดเงินโอน $50,000.01 ขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียม $20
2. ค่าธรรมเนียมการรับเงินโอนจากต่างประเทศ ของธนาคารกรุงเทพในประเทศไทย 200 บาท หรือ
0.25% ของมูลค่าเป็นเงินบาทแต่ไม่เกิน 500 บาท

โดยจะโอนเงินมาทุก ๆ 14 วัน

ถ้าหากไม่ได้ตั้งค่า Bank Account ตั้งแต่ตอนสมัคร เมนูการตั้งจะอยู่ที่ SETTINGS > ACCOUNT INFO
แล้วก็เข้าเมนูย่อย Deposit Method หน้าตาก็จะเหมือนกัน


หลังจาก Log in เข้าไปที่ Seller Central แล้วเราจะเจอเมนูต่าง ๆ อยู่ทางมุมซ้ายบน ของหน้าจอ




มาเริ่มจากเมนู ขวาสุดก่อนเลยครับ
Settings เมนูนี้จะใช้ในการตั้งค่าระบบต่าง ๆ ของร้าน ผมแนะนำให้ตั้งค่าเหล่านี้ก่อนขายนะครับ



 
- Account Info
สำหรับเอาไว้ตั้งค่าโดยรวม ๆ ทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับ account ที่เราใช้งานอยู่ โดยมากแล้วก็จะใส่ในตอนสมัครหมดแล้ว

- Notification Preferences
ตั้งอีเมล์ ว่าจะให้ส่งข้อความเตือนต่าง ๆ

- Login Settings
เปลี่ยนชื่อ อีเมล์ กับพาสเวิร์ดที่ใช้ Log in

- Gift Options
บริการเสริมจากร้านเรา ว่าจะส่งของขวัญ แทนคนซื้อได้หรือเปล่า

- Shipping Settings
การตั้งค่าส่ง บริการ และปลายทางที่จะส่ง (เดี๋ยวลงรายละเอียดอีกที)

- Tax Settings
ตั้งค่าเกี่ยวกับการคิดภาษีการค้า (คงไม่ต้องหรอกมั๊ง ถ้าคิดค่าของจะแพงกว่าเดิม)

- User Permissions
ตั้งให้ผู้ใช้งานคนอื่น (ถ้ามี) ว่าสามารถจัดการอะไรต่าง ๆ ในร้านได้ขนาดไหน เหมาะกับกรณีที่เราทำงานกันหลายคน แต่จะจำกัดว่าแต่ละคนทำอะไรกันได้บ้าง

- Your Info & Policies
การตั้งนโยบายต่าง ๆ ของทางร้านเพิ่มเติม เพื่อเสริมความมั่นใจให้กับลูกค้าน่ะครับ
 
ผมจะลงรายละเอียดแค่ Account Info / Shipping Settings และ Your Info & Policies แค่นั้น เพราะอันอื่น จะเปลี่ยนหรือไม่ ก็แล้วแต่เจ้าของร้าน แต่ 3 อันนี้ ควรที่จะตั้งค่าให้พร้อมก่อน นำสินค้าไปขาย
 

 Account Info

เมื่อเราเข้ามาในเมนู Account Info หน้าตาจะประมาณนี้

 ว่ากันทีละอันเลยนะครับ
1. Selling Plan เป็นการเปลี่ยนว่าจะขายแบบ Individual (ขายเป็นชิ้น ชิ้นละ $0.99 แต่ไม่เกิน 40 ชิ้น)หรือ Professional (รายเดือน เดือนละ $39.99 ไม่จำกัดจำนวนชิ้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 40 ชิ้น) จะสามารถสลับไปมา ได้ แต่ต้องรอให้หมดรอบการจ่าย $39.99 หรือหมดรอบบิลก่อน เหมือนกับรอบการจ่ายค่ามือถือรายเดือนนั่นแหละ

ถ้าอยากเปลี่ยน ก็กดปุ่ม Switch Your Selling Plan ที่มุมขวาได้เลย
2. Seller Information



Display Name : ชื่อร้านที่จะแสดง
Customer Service E-mail : อีเมล์ในกรณีที่ลูกค้าต้องการสอบถาม
Customer Service Reply-to Email : อีเมล์ที่ใช้โต้ตอบกับลูกค้า
Customer Service Phone : เบอร์โทร หากเมลล์คุยกันไม่รู้เรื่องแล้วอยากให้โทรมา
Storefront Link : เหมือนเป็นการตั้ง Permanent Store Link นั่นแหละ แต่บังคับ ว่าต้องนำหน้าด้วย www.amazon.com/shops/

3. Legal Entity ประมาณว่า ชื่อทางการค้า หรือที่ใช้จดทะเบียนน่ะ น่าจะใช้ชื่อร้านก็ได้นะ









ถ้าอยากเปลี่ยน ก็กด edit ที่มุมขวาได้

4. Listing Status เป็นการตั้งสถานะในการแสดงของสินค้าในร้านทั้งหมด ปกติ จะอยู่ที่ ค่า Active เอาไว้ตอนที่หยุดยาว แล้วส่งของไม่ได้ หรือไม่อยู่ ก็ให้มาเปลี่ยนเป็น Inactive ไม่อย่างนั้น ส่งของไปถึงช้า แล้วลูกค้าจะโวย กลับมา ค่อยมาเปลี่ยนเป็น Active เหมือนเดิม โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนสินค้าทีละรายการ









5. Deposit Method เพิ่ม หรือเปลี่ยน บัญชีที่ Amazon จะนำเงินเข้าบัญชีเรา เหมือนที่เคยได้อธิบายไว้แล้วครับ

ถ้าจะเปลี่ยนใช้บัญชีอันใหม่ ก็เลือก Use a new bank account แล้วก็ใส่ข้อมูลบัญชีใหม่

6. Charge Method อันนี้เป็นวิธีที่ Amazon จะเก็บเงินจากเรา ทั้งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หรือเวลาลูกค้าคืนของ แล้วเราจะต้องคืนเงิน วิธีมาตรฐานคือดึงจากบัตรที่เราใช้สมัคร แต่พอบัตรใกล้หมดอายุ เราจะโดนบังคับให้ใส่ข้อมูลบัตรใหม่ก่อนล่วงหน้า


 
 
ช่อง บน Select an Existinf Credit Card คือข้อมูลบัตรเดิมที่เราเคยใช้สมัครไว้แล้ว
ถ้าจะใส่บัตรใหม่ ให้เลือก Or, Enter a New Credit Card and Billing Address แล้วก็ใส่ข้อมูลบัตรใหม่ กับที่อยู่ให้ตรงกัน ในช่องด้านล่าง


7. Return Information เป็นที่อยู่ ที่ให้ลูกค้าส่งของคืน ปกติ ก็คือที่อยู่ที่ใช้ในตอนสมัครนั้นแหละ แต่ถ้าต้องการให้เป็นที่อยู่อื่น ก็มาตั้งไว้ที่นี่ได้
 
 
 
 เลือกไปที่ Enter a new address and phone number แล้วก็ใส่รายละเอียดลงไป

8. Your Merchant Token ไม่รุ้เหมือนกันว่าอะไร ตั้งไม่ได้ เปลี่ยนไม่ได้ เอาไว้ให้ดูเฉย ๆ


วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

การทำ amazon ในฐานะผู้ขาย(Amazon Seller Professional) ตอนที่1

        Sell Professionally ก็คือ ขายสินค้ามากกว่า 40 รายการต่อเดือน เพราะสินค้าที่ผมมีแผนว่าจะขายนั้นมีอยู่ประมาณ 300 รายการ โดยเสียค่าเปิดร้าน $39.99 ต่อเดือน และยังต้องเสียค่าธรรมเนียมหากขายได้อีก (แต่ละหมวดสินค้าก็ไม่เท่ากัน) แต่ไม่จำกัดจำนวนชิ้นเลย จะขายกี่ชิ้นก็ได้ ไม่มีกำหนดส่วนอีกแบบก็คือขายเป็นรายชิ้น คิดชิ้นละ $0.99 บวกค่าธรรมเนียม แต่แบบนี้ให้ขายได้ไม่เกิน 40 ชิ้นต่อเดือน แต่แบบรายเดือนจะมีข้อดีกว่า คือได้รับการโปรโมตมากกว่า สามารถกำหนดค่าส่งเองได้ถ้าไม่แน่ใจว่าสินค้าที่เล็งไว้ จะขายได้หรือเปล่า ลองแบบเป็นชิ้นก่อนก็ได้ครับ แล้วค่อยเปิดร้าน เพราะว่า $39.99 ต่อเดือนนี่ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกันมาถึงขั้นตอนการสมัคร สำหรับAmazon.com
Amazon .com ไปที่หน้านี้ →http://www.amazonservices.com/content/sell-on-amazon.htm#
   
คลิ๊กที่ Start Selling ที่อยู่ในช่อง Sell Professionally (เดือนแรกฟรี) จะเข้าสู่ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นผู้ขายครับ


ช่องที่ 1 -- ใส่ชื่อ และนามสกุล ภาษาอังกฤษ ให้ตรงกับบัตรเครดิต (หรือเดบิต)
ช่องที่ 2 -- อีเมลล์ ที่จะใช้ในการสมัคร
ช่องที่ 3 –- พิมพ์อีเมลล์ อีกครั้งให้เหมือนเดิม
ช่องที่ 4 –- พาสเวิร์ด (ที่จะใช้ในการ Log in นะครับ ไม่ใช้ของอีเมลล์)
ช่องที่ 5 –- พาสเวิร์ด อีกครั้ง
ช่องที่ 6 -- ชื่อร้านที่จะใช้หรือชื่อธุรกิจ หากไม่มี ก็ใช้ชื่อเราก็ได้ แล้วก็กด Check box ด้านล่างเพื่อยืนยันว่ายอมรับข้อตกลงต่าง ๆ ส่วนในช่องทางขวามือ You are signing up for….. หากมีการรวมบริการอื่น นอกจาก Selling on Amazon – Professional แล้ว ให้กดปุ่ม Remove ออกให้หมดนะครับ ไม่งั้นโดนคิดค่าบริการเพิ่ม เสร็จแล้ว ก็กดที่ปุ่ม Continue ไป


Account Information
ช่องที่ 7 -- ชื่อร้านที่ต้องการให้แสดงใน Amazon
ช่องที่ 8 -- เหมือนกับช่องที่ 6 ของหน้าที่แล้วครับ เวปจะดึงข้อมูลมาเอง
ช่องที่ 9 -- ที่อยู่ ควรจะให้ตรงกับที่อยู่ของบัตรเครดิต
ช่องที่ 10 -- เมือง
ช่องที่ 11 -- จังหวัด
ช่องที่ 12 -- รหัสไปรษณีย์
ช่องที่ 13 –- ประเทศ
ช่องที่ 14 -- เบอร์โทรศัพท์ ที่ติดต่อได้จริง ๆ เพราะจะต้องมีการยืนยันด้วย ให้เริ่มด้วย +66 แล้วก็ตัด 0 ตัวเแรกของเบอร์ออก (หากมีเบอร์บ้าน ใช้เบอร์ที่บ้านดีกว่า เพราะ touch screen มักจะมีปัญหาเวลากดหมายเลย ตอนยืนยันตัวตน) เสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม Continue ไปหน้าต่อไปได้เลยครับ
Credit Card
          หน้านี้เราต้องใส่ข้อมูลบัตรเครดิต พวก Be 1st หรือ K –web card ใช้ไม่ได้นะครับ
ช่องที่ 15 -- ชนิดของบัตร
ช่องที่ 16 -- ชื่อเจ้าของบัตร
ช่องที่ 17 -- หมายเลขบัตร
ช่องที่ 18 -- วันหมดอายุของบัตร เป็นรูปแบบ เดือน - ปี
ช่องที่ 19 -- ที่อยู่ในการส่งเอกสารของบัตรเครดิต หากเหมือนกับที่อยู่ในขั้นที่แล้ว ให้กดที่ Check box ได้เลย
ช่องที่ 20 -- หากไม่เหมือน ต้องใส่ที่อยู่ในช่องนี้ครับ ในขั้นตอนนี้ หากใส่ข้อมูลเสร็จ แล้วบัตรใช้ได้หลังจากกด Continue แล้ว ระบบจะทำการตัดเงิน $1.00 เพื่อทดสอบว่าบัตรใช้ได้จริงหรือเปล่าด้วยนะครับ
 
 
 
IDENTITY VERIFICATION
          คราวนี้ ระบบอัตโนมัติจะทำการโทรมาหาเราตามเบอร์โทรศัพท์ที่เราได้ใส่ไว้ โดยดูเบอร์ได้จาก Primary Business Number : แต่หากไม่สะดวก หรือไม่ได้เติมเงิน สามารถให้โทรมาที่เบอร์อื่นได้ โดยคลิกที่ No, call me in the next few minutes at: แล้วก็ใส่เบอร์โทรในช่องด้านล่าง (ไม่ต้องใส่ในช่อง ext) อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ก็คือ ใส่ +66 ก่อน แล้วก็ตามด้วยเบอร์โทร โดยต้องตัดเลย 0 ข้างหน้าออกก่อนนะครับ พร้อมแล้ว ก็กดที่ Call me Now ได้เลย สัก 2-3 วินาที ก็จะมีชาวต่างชาติ โทรมาหาคุณ เขาจะพูดว่า Hello, this is automatic call from Amazon ……. ส่วนหน้าเวป ก็จะเปลี่ยนไปเป็นหน้านี้
 
 
         ให้กดตัวเลขทั้ง 4 ตัวที่ปรากฎ หลังคำว่า Your PIN : (ตัวเลขจะไม่เหมือนกันนะครับ อย่ากดตามหน้านี้ล่ะกัน) โดยไม่ต้องรอให้ลุงนั่นพูดจบครับ กดแทรกไปได้เลย ถ้ารหัสถูกต้อง หน้าเวป ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป โดยอัตโนมัติ เป็นขั้นตอน Identity verification complete แล้วก็กดวางโทรศัพท์ได้เลย
 
 
กด Continue ต่อไปได้เลย
 
 

 
 
       หน้าสุดท้าย ก็เป็นการสรุปข้อมูลทั้งหมด ที่เราใช้ในการสมัคร หากต้องการแก้ไขจุดไหน ก็ให้กดปุ่ม Edit ได้เลย และก็ยังสามารถ Add Bank Account ที่สำหรับใช้ในการรับเงิน ได้ตรงตำแหน่ง 21 ที่จะใช้ได้อย่างเดียว ก็คือรับเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ค (หรือหากมีบัญชี ที่สหรัฐ จริง ๆ ก็ใช้ได้นะครับ และยังมีอีกหลายที่) มาเข้าบัญชีในประเทศไทยนี่แหละ

        ถ้ายังไม่มีบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ ให้กด Confirm ไปก่อน ค่อยมา ใส่บัญชีทีหลังก็ได้
ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสมัครครับ